ReadyPlanet.com
dot

dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot


Go to www.snmark.co.th
เพิ่ม snmark เป็นเพื่อนด้วย QR Code
ที่ตั้ง หจก.เอส.เอ็น.มาร์ค
การเปลี่ยนสายพานเทปล่อน
การเปลี่ยนเส้นลวด
ภาพการใช้งานจริง



 ข่าวสาร ความเคลื่อนไหว เรื่องน่าสนใจ ที่เว็ปมาสเตอร์นำมาเสนอ :


แนะนำเครื่องซีล
วันที่ 01/02/2019  14:17:25 PM ,ผู้เข้าชม : 2033
แนะนำ-เครื่องซีลถุงพลาสติก

เครื่องซีลถุง

แนะนำเครื่องซีลถุง

เครื่องซีลปากถุงแบ่งประเภทตามลักษณะการใช้งาน ได้แก่

1. เครื่องซีลถุงแบบมือกด
2. เครื่องซีลถุงแบบเท้าเหยียบ
3. เครื่องซีลถุงอัตโนมัติ
4. เครื่องซีลถุงแบบสายพาน
5. เครื่องซีลสูญญากาศ


ในส่วนนี้จะแนะนำเกี่ยวกับเครื่องซีลที่ใช้มือในการกด ซึ่งเครื่องประเภทนี้จะเหมาะกับงานที่ปริมาณการผลิตไม่มากนัก

การเลือกใช้เครื่องซีลแต่ละชนิดขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหลายอย่าง เช่น

1. เลือกตามความสะดวกในการใช้งาน
2. ชนิดของถุงพลาสติก
3. ลักษณะรูปทรงของชิ้นงาน
4. ปริมาณการผลิต
5. งบประมาณ

hand sealer www.snmark.com

การกำหนดความต้องการ ช่วยให้การเลือกชนิดของเครื่องซีลได้ง่ายขึ้น

1. ความกว้างของปากถุงที่ต้องการซีล
2. ความกว้างรอยซีลที่ต้องการ เช่น 2 มม., 5 มม., 10 มม. เป็นต้น
3. ชนิดของถุง เช่น ถุงร้อน ถุงเย็น ถุงPP ถุงPE ถุงฟอล์ย ถุงไนล่อน เป็นต้น
3. ปริมาณการผลิตต่อวันมากน้อยเพียงใด
4. งบประมาณที่ตั้งไว้
เมื่อรู้ความต้องการก็สามารถนำไปเลือกเครื่องซีลได้ตามคุณลักษณะของเครื่องแต่ละชนิดและรุ่น
เช่น เครื่องซีลแบบมือกด, เครื่องซีลแบบเท้าเหยียบ, เครื่องซีลแบบอัตโนมัติ, เครื่องซีลแบบสายพาน เป็นต้น


ในส่วนนี้จะแนะนำเกี่ยวกับเครื่องซีลที่ใช้มือในการกด ซึ่งเครื่องประเภทนี้จะใช้งานง่าย เคลื่อนย้ายสะดวก
มีทั้งเครื่องจากจีน(ฺ Brother) และไต้หวัน (MEC)
 


  1. เครื่องซีลถุงแบบมือกด ยี่ห้อ Brother

เครื่องซีลมือกด เครื่องซีลมือกด PCS300i

เครื่องซีลถุงแบบมือกด Brother
สินค้าจากประเทศจีน ราคาย่อมเยา คุณภาพพอใช้

 

มี 2 รุ่น คือ
PCS-200I (8")
PCS-300I ( 12" )
แถบซีล 2 มม.
โครงสร้างเหล็ก


รายละเอียดเพิ่มเติมคลิก


2. เครื่องซีลถุง แบบมือกด ยี่ห้อ Dailypack 

เครื่องซีลมือกด

ครื่องซีลรุ่นนี้ นำเข้าจากไต้หวัน
ตัวเครื่องเป็นพลาสติกคุณภาพ  
มีความยาว 8" และ 12"
แถบซีล 2 มม
.



3. เครื่องซีลปากถุงแบบมือกดยี่ห้อ MEC

 เครื่องซีลมือกด MEC              

เครื่องซีลมือกดมีขนาดความยาว  8", 12" , 16"  แถบซีล  2mm และ 5mm
สินค้าไต้หวัน คุณภาพดี มีความคงทน

เครื่องซีลมือกดยี่ห้อ MEC มีรุ่นดังนี้
1. รุ่น 200HI  โครงสร้างเหล็ก ความยาว   8"(20ซม.) แถบซีล 2 มม.
2. รุ่น 205HI  โครงสร้างเหล็ก ความยาว   8"(20ซม.) แถบซีล 5 มม.
3. รุ่น 300HI  โครงสร้างเหล็ก ความยาว 12"(30ซม.) แถบซีล 2 มม.
4. รุ่น 305HI  โครงสร้างเหล็ก ความยาว 12"(30ซม.) แถบซีล 5 มม.
5. รุ่น 400HI  โครงสร้างเหล็ก ความยาว 16"(40ซม.) แถบซีล 2 มม.

รายละเอียดเพิ่มเติมคลิก


3.1 เครื่องซีลมือกดแบบกึ่งอัตโนมัติ 
มีอุปกรณ์ที่แตกต่างจากเครื่องซีลธรรมดาคือ ชุดแม่เหล็ก  ปุ่มปรับความร้อน  ปุ่มปรับความเย็น
เครื่องรุ่นนี้มีแม่เหล็กอยู่ที่ปลายด้ามกดบน-ล่าง เมื่อกดลงมาซีลแม่เหล็กจะดูดเอาไว้จนเสร็จขั้นตอนแล้วจะดีดขึ้นเอง
ทำให้สะดวกในการทำงาน


เครื่องซีลมือกด HIM

  รุ่น 300HIM  ความยาว  12"  แถบซีล  2 มม.
  
รายละเอียดเพิ่มเติมคลิก



3.2 เครื่องซีลมือกดแบบมีมีดตัด 
เหมาะกับการตัดปากถุงที่เหลือจากการซีล
ตัวเครื่องจะมีใบมีดอยู่ด้านบน เมื่อกดซีลแล้วทำการเลื่อนใบมีดตัดในขณะที่กำลังกดซีลอยู่ รอยตัดจะอยู่เหนือรอยซีลประมาณ 5 มม.


เครื่องซีลมือกด MEC HC

   
 รุ่น 200HC  ความยาว  8"(20ซม.)  แถบซีล  2 มม.
 รุ่น 300HC  ความยาว 12"(30ซม)  แถบซีล  2 มม.


รายละเอียดเพิ่มเติมคลิก


3.3 เครื่องซีลมือกดแบบความยาวพิเศษ

ในกรณีถุงมีความยาวและหนักไม่สะดวกในการเคลื่อนย้าย สามารถใช้เครื่องรุ่นนี้วางบนโต๊ะ

เพื่อทำการซีล ทำให้การซีลปากถุงสะดวกยิ่งขึ้น

เหมาะกับการซีลปากถุงกว้าง ปรับความร้อนได้

เครื่องซีลมือกดยาวพิเศษ

รุ่น 600HI ความยาว   24 นิ้ว แถบซีล 2 มม.
รุ่น 800HI ความยาว   32 นิ้ว แถบซีล 2 มม.
รุ่น 1000HI ความยาว 40 นิ้ว แถบซีล 2 มม.
 

รายละเอียดเพิ่มเติมคลิก



 3.4 เครื่องซีลถุงฟอล์ย 
 
เครื่องรุ่นนี้เหมาะกับการซีลถุงฟอล์ย ใช้ฮีตเตอร์ให้ความร้อนที่แท่งเหล็กโดยตรงทั้งบนและล่าง

สามารถนำไปซีลสถานที่ต่างๆได้ เพียงมีไฟ 220V  ใช้งานง่าย ทนทาน รอยซีลแน่น

เหมาะกับการซีลถุงฟอยด์ ทั้งถุงฟอยด์มีจีบพับข้างและถุงฟอยด์ธรรมดา

มี 2 รุ่น 

200CS  ซีลถุงได้กว้างสุด 20ซม. แถบซีล 12 มม.

300CS  ซีลถุงได้กว้างสุด 30ซม. แถบซีล 12 มม.

เครื่องซีลถุงฟอยด์  

เครื่องซีลถุงฟอยล์

รายละเอียดเพิ่มเติมคลิก


 3.5 เครื่องซีลปากกล่องพลาสติก    เช่น กล่องขนม กล่องแบตเตอรี่โทรศัพท์ เป็นต้น

การซีลของรุ่น 105CH ลักษณะเป็นจุดๆ แถบซีลประมาณ 0.5x1ซม. ใช้ความร้อนทั้งด้านบนและ

ด้านล่าง ซีลดิดง่าย

เครื่องซีลกล่องพลาสติก 105CH

เครื่องซีลกล่องพลาสติก 105CH

รายละเอียดเพิ่มเติมคลิก


3.6 เครื่องซีลถุงสเตอร์ไรด์

สำหรับซีลถุงสเตอร์ไรด์ ถุงบรรจุเครื่องมือทางการแพทย์ 


เครื่องซีลถุงสเตอร์ไรด์  2010HC


Model 2010HC เป็นเครื่องซีล แบบมือกดจากไต้หวัน ยี่ห้อ MEC เหมาะสำหรับซีลถุงสเตอร์ไรด์เพราะมี

ความกว้างรอยซีล 10 มม. ความยาว 8" พร้อมมีตัด มีเสียงเตือนเมื่อเครื่องทำงานเรียบร้อยแล้ว

สามารถใช้กับถุงเป็นม้วนได้ ใช้งานง่าย สะดวก คงทน

รายละเอียดเพิ่มเติมคลิก

เครื่องซีลถุงสเตอร์ไรด์ 3010HCA


Model 3010HCA เป็นเครื่องซีล แบบมือกดจากไต้หวัน ยี่ห้อ Dailypack เหมาะสำหรับซีลถุงสเตอร์ไรด์

มีความกว้างรอยซีล 10 มม. ความยาว 12" พร้อมมีดตัด ใช้กับถุงสเตอร์ไรด์แบบม้วนได้มีทีรองรับม้วนถุง

ส่วนแสดงผลเป็นจอภาพ 2 บรรทัด ใช้งานง่าย เครื่องแข็งแรงและคงทน

รายละเอียดเพิ่มเติมคลิก


สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ

ห้างหุ้นส่วนจำกัด เอส.เอ็น.มาร์ค
116/54 หมู่ 6 หมู่บ้านบัวทอง ซอย19 ต.บางรักพัฒนา อ.บางบัวทอง จ.นนทบุรี 11110
โทร.087-7837521, 098-8300327
Line ID : snmark

www.snmark.com
 

ความรู้เกี่ยวกับชนิดของพลาสติก
วันที่ 01/02/2019  14:11:03 PM ,ผู้เข้าชม : 729
ถุงพลาสติก

 

รายละเอียด

 ในปัจจุบันได้มีการรณรงค์การนำวัสดุต่างๆ มารีไซเคิลเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม ซึ่งรวมไปถึงการนำพลาสติกต่างๆ ไปรีไซเคิลด้วย สมาคมอุตสาหกรรมพลาสติกแห่งอเมริกา (The Society of the Plastics Industry, Inc.)ได้กำหนดสัญลักษณ์มาตรฐานของพลาสติกยอดนิยมกลุ่มต่างๆ ที่สามารถนำกลับมาหมุนเวียนหรือที่เรียกว่าการรีไซเคิล (Recycle) ไว้ 7 ประเภทหลักๆ โดยหากพลาสติกใดสามารถนำมารีไซ-เคิลได้ ก็จะมีรหัสอันประกอบด้วยลูกศร 3 ตัว วนเป็นรูป 3 เหลี่ยมรอบๆ ตัวเลขตัวหนึ่งดังแสดงในรูปภาพ อย่างไรก็ตามก่อนจะทราบรายละเอียดของพลาสติกทั้ง 7 ประเภท เรามาทำความรู้จักความหมายคร่าวๆ ก่อนว่าพลาสติกคืออะไร

พลาสติกคืออะไร
          พลาสติกจัดเป็นวัสดุพอลิเมอร์ที่เป็นสารประกอบอินทรีย์ที่มีลักษณะเป็นสาย โซ่ยาวๆ แต่ไม่สามารถมองเห็นเป็นสายโซ่ได้ด้วยตาเปล่าซึ่งสายโซ่ดังกล่าวประกอบด้วยหน่วยย่อยๆที่เรียกว่ามอนอเมอร์ พอลิเมอร์สามารถสังเคราะห์ได้จากกระบวนการพอลิเมอร์ไรเซชั่น(polymerization) ของมอนอเมอร์ โดยใช้แหล่งวัตถุดิบจากปิโตรเคมีเป็นหลัก พลาสติกมีหลายชนิดและสามารถใช้แทนวัสดุธรรมชาติได้หลายอย่าง เช่น พอลิไวนิลคลอไรด์ (PVC) ใช้ผลิตท่อพีวีซี, พอลิเอทธิลีนเทเรฟธาเลท (PET) ใช้ผลิตขวดบรรจุน้ำดื่ม และพอลิสไตรีน (PS)ใช้ผลิตภาชนะบรรจุต่างๆ เช่นช้อน พลาสติก เป็นต้น

เมื่อพลาสติกโดนความร้อนจะเป็นอย่างไร
          เมื่อพลาสติกโดนความร้อนจะแสดงคุณสมบัติ 2 แบบหลักคือ 1) พลาสติกจะแข็งตัวถาวรไม่ว่าจะถูกความร้อนมากแค่ไหนก็ตาม ทำให้ไม่ สามารถหลอมเพื่อขึ้นรูปใหม่ตามที่ต้องการได้ ซึ่งจะเรียกพลาสติกกลุ่มนี้ว่า “เทอร์โมเซตติ้ง (thermosetting)” และ 2) พลาสติกจะเกิดการอ่อนตัวเมื่อถูกความร้อน และจะกลับไปแข็งเมื่อพลาสติกเย็นขึ้น ทำให้สามารถนำไปหลอมขึ้นรูปใหม่ได้ ซึ่งจะเรียกพลาสติกแสดงคุณสมบัติแบบนี้ว่า “เทอร์โมพลาสติก (Thermoplastic)” ซึ่งพลาสติกที่สามารถนำมารีไซเคิลได้คือพลาสติกประเภท “เทอร์โมพลาสติก
(Thermoplastic)”

พลาสติกรีไซเคิลทั้ง 7 ประเภท
          พลาสติกหมายเลข 1 มีชื่อว่า พอลิเอทธิลีนเทเรฟธาเลท (Polyethylne Terephthalate) หรือที่รู้จักกันดีว่า เพ็ท (PET หรือ PETE)เป็นพลาสติกใส แข็ง ทนแรงกระแทกดี ไม่เปราะแตกง่าย และกันแก๊สซึมผ่านดี ใช้ทำขวดบรรจุน้ำดื่ม ขวดน้ำมันพืช เป็นต้น สามารถนำมารีไซเคิลเป็นเส้นใย สำหรับทำเสื้อกันหนาว พรม และใยสังเคราะห์สำหรับยัดหมอน เป็นต้น

          พลาสติกหมายเลข 2 มีชื่อว่า พอลิเอธิลีนความหนาแน่นสูง (High Density Polyethylene) หรือที่เรียกแบบย่อว่า เอชดีพีอี (HDPE)เป็นพลาสติกที่เหนียวและแตกยาก ค่อนข้างแข็งแต่ยืดได้มาก ทนทานต่อสารเคมีและสามารถขึ้นรูปทรงต่างๆ ได้ง่าย ใช้ทำขวดนม ขวดน้ำและบรรจุภัณฑ์สำหรับน้ำยาทำความสะอาด ยาสระผม เป็นต้น สามารถนำมารีไซเคิลเป็น ขวดน้ำมันเครื่อง ท่อ ลังพลาสติก ไม้เทียม เป็นต้น

          พลาสติกหมายเลข 3 มีชื่อว่า พอลิไวนิลคลอไรด์ (Polyvinylchloride) หรือที่รู้จักกันดีว่า พีวีซี (PVC) ใช้ทำท่อน้ำประปา สายยางใสแผ่นฟิล์มสำหรับห่ออาหาร แผ่นพลาสติกสำหรับทำประตู หน้าต่าง และหนังเทียม เป็นต้น สามารถนำมารีไซเคิลเป็นท่อน้ำประปาหรือรางน้ำสำหรับการเกษตร กรวยจราจร เฟอร์นิเจอร์ ม้านั่งพลาสติก ตลับเทป เคเบิล แผ่นไม้เทียม เป็นต้น

          พลาสติกหมายเลข 4 มีชื่อว่า พอลิเอทิลีนความหนาแน่นต่ำ (Low Density Polyethylene) สามารถเรียกแบบย่อว่า แอลดีพีอี(LDPE) เป็นพลาสติกที่มีความนิ่ม เหนียว ยืดตัวได้มาก ใส ทนทาน แต่ไม่ค่อยทนต่อความร้อน ใช้ทำฟิล์มห่ออาหารและห่อของ ถุงใส่ขนมปัง ถุงเย็นสำหรับบรรจุอาหาร สามารถนำมารีไซเคิลเป็นถุงดำสำหรับใส่ขยะ ถุงหูหิ้ว ถังขยะ กระเบื้องปูพื้น เฟอร์นิเจอร์ แท่งไม้เทียม เป็นต้น

          พลาสติกหมายเลข 5 มีชื่อว่า พอลิโพรพิลีน (Polypropylene) เรียกโดยย่อว่า พีพี (PP) เป็นพลาสติกที่มีความ ใส ทนทานต่อความร้อน คงรูป เหนียว และทนแรงกระแทกได้ดี นอกจากนี้ยังทนต่อสารเคมีและน้ำมัน ใช้ทำภาชนะบรรจุอาหาร เช่น กล่อง ชาม จาน ถัง ตะกร้ากระบอกใส่น้ำแช่เย็น ขวดซอส แก้วโยเกิร์ต ขวดบรรจุยา สามารถนำมารีไซเคิลเป็นกล่องแบตเตอรี่ในรถยนต์ ชิ้นส่วนรถยนต์ เช่น กันชนและกรวยสำหรับน้ำมัน ไฟท้าย ไม้กวาดพลาสติก แปรง เป็นต้น

          พลาสติกเลข 6 มีชื่อว่า พอลิสไตรีน (Polystyrene) หรือที่เรียกโดยย่อว่า พีเอส (PS) เป็นพลาสติกที่มีความใส แต่เปราะและแตกง่ายใช้ทำภาชนะบรรจุของใช้ต่างๆ หรือโฟมใส่อาหาร เป็นต้สามารถนำมารีไซเคิลเป็นไม้แขวนเสื้อ กล่องวิดีโอ ไม้บรรทัด กระเปาะเทอร์โมมิเตอร์ แผงสวิตช์ไฟ ฉนวนความร้อน ถาดใส่ไข่ เครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ ได้

          พลาสติกเลข 7 นั้นมิได้มีการระบุชื่อจำเพาะ แต่ไม่ใช่พลาสติกชนิดใดชนิดหนึ่งใน 6 ที่ได้กล่าวไปในข้างต้น แต่เป็นพลาสติกที่นำมาหลอม

ขยะพลาสติกจึงไม่ควรนำไปทิ้งรวมกับขยะที่ไม่สามารถรีไซเคิลได้เช่น ขยะสด ขยะที่สามารถเผาได้ ขยะที่ไม่สามารถเผาได้เป็นต้นแต่ควรแยกทิ้งโดยแยกประเภทของขยะพลาสติกและทำความสะอาดก่อนจะนำไปทิ้ง เพื่อที่จะได้นำขยะพลาสติกเหล่านี้ไปรีไซเคิลเป็นผลิตภัฑณ์อื่นๆ ต่อไป เพื่อลดปัญหาสิ่งแวดล้อมของโลก

 

 
 
 

 

 

บทความจาก....ดร.ภูมิพัฒน์  รัตนตรัยเจริญ

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพลาสติก
วันที่ 01/02/2019  14:09:33 PM ,ผู้เข้าชม : 1649

รายละเอียด

พลาสติกเป็นสิ่งที่เราใช้กันอยู่ทุกวัน ครับ อาทิ ภาชนะบรรจุอาหาร บรรจุภัณฑ์ เครื่องใช้สำนักงาน ฯลฯ แต่รู้หรือไม่ว่า เราใช้พลาสติกคนละชนิดกันในการผลิตสิ่งของต่างๆ ขึ้นอยู่กับการใช้งานของสินค้าเอาไปใช้ทำอะไรครับ พลาสติกแบ่งออกเป็น 2 ประเภท

เทอร์โมพลาสติก (thermoplastic) มีสมบัติพิเศษคือเมื่อหลอมแล้วสามารถนำมาขึ้นรูปกลับมาใช้ใหม่ได้ พลาสติกในตระกูลเทอร์โมพลาสติก อาทิ

  1. โพลิเอทิลีน (polyethylene: PE) ไอน้ำซึมผ่านได้เล็กน้อย อากาศผ่านเข้าออกได้ มีลักษณะขุ่นและทนความร้อนได้พอควร ใช้ทำท่อน้ำ ถัง ถุง ขวด ภาชนะ ฟิล์มถ่ายภาพ ของเล่นเด็ก   ดอกไม้พลาสติก
  2. โพลิโพรพิลีน (polypropylene: PP) ไอน้ำซึมผ่านได้เล็กน้อย ขีดด้วยเล็บไม่เป็นรอย ทนต่อสารไขมันและความร้อนสูง ไม่แตก ใช้ทำโต๊ะ เก้าอี้ เชือก พรม
  3. โพลิสไตรีน (polystyrene: PS) โปร่งใส เปราะ ทนต่อกรดและด่าง ใช้ทำชิ้นส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เลนส์
  4. สไตรลีน อะครีโลไนไทรล์ (styrene-acrylonitrile: SAN) ใช้ผลิตชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้า ชิ้นส่วนยานยนต์
  5. อะครีโลไนไทรล์ บิวทาดิอีน สไตรีน (acrylonitrile-butadiene-styrene: ABS) คล้ายโพลิสไตรีน แต่ทนสารเคมีดีกว่า เหนียวกว่า โปร่งแสง ใช้ผลิตถ้วย ถาด
  6. โพลิไวนิลคลอไรด์ (polyvinylchloride: PVC) ป้องกันไขมันได้ดี มีลักษณะใส ใช้ทำขวดบรรจุน้ำมันและไขมันปรุงอาหาร ฉนวนหุ้มสายไฟ เป็นต้น
  7. ไนลอน (nylon) เป็นพลาสติกที่มีความเหนียวมาก ใช้ทำเครื่องนุ่งห่ม ถุงน่องสตรี พรม อวน แห
  8. โพลิเอทิลีน เทเรฟทาเลต (polyethylene terephthalate) เหนียวมาก โปร่งใส ใช้ทำแผ่นฟิล์มบางๆ บรรจุอาหาร
  9. โพลิคาร์บอเนต (polycarbonate: PC) มีลักษณะโปร่งใส แข็ง ทนแรงยึดและแรงกระแทกได้ดี ทนความร้อนสูง ทนกรด แต่ไม่ทนด่าง รอยหรือคราบอาหารจับยาก ใช้ทำถ้วย จาน ชาม ขวดนม ขวดบรรจุอาหารเด็ก


เทอร์โมเซตติงพลาสติก (thermosetting plastic) พลาสติก ชนิดนี้เมื่อหลอมตัวเป็นรูปแบบใดจะเป็นรูปแบบนั้นอย่างถาวร จะเอามาหลอมใช้เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ไม่ได้ คือหลังจากพลาสติกเย็นจนแข็งตัวแล้ว จะไม่สามารถทำให้อ่อนได้อีกโดยใช้ความร้อน หากแต่จะสลายตัวทันทีที่อุณหภูมิสูงถึงระดับ เทอร์โมเซตติงพลาสติก อาทิ

  1. เมลามีน ฟอร์มาลดีไฮด์ (melamine formaldehyde) ทนความร้อน กันรอยขีดข่วน ใช้ในการผลิตเครื่องครัว ส่วนประกอบอิเล็กทรอนิคส์ เครื่องเรือนไม้อัดเคลือบ และติดชั้นของไม้ให้กลายเป็นไม้อัด
  2. ฟีนอลฟอร์มาดีไฮต์ (phenol-formaldehyde) ทนปฏิกิริยาเคมีได้ดี เกิดคราบและรอยเปื้อนยาก แต่อาจพองบวมได้เนื่องจากน้ำหรือแอลกอฮอล์ใช้ทำฝาจุกขวดและหม้อ
  3. อีพ็อกซี (epoxy) ใช้ทำกาว สี สารเคลือบผิวหน้า
  4. โพลิเอสเตอร์ (polyester) ใช้ผลิตภัณฑ์แบบตัวถังรถยนต์ เครื่องกีฬา อุปกรณ์ในเครื่องบิน
  5. ยูรีเทน (urethane) มีเนื้อฟิล์มแข็ง ทนแรงขูดขีด ทนร้อน ทนกระแทก ได้ดี ส่วนมากจะใช้ในการทาพื้น หรือเคลือบเฟอร์นิเจอร์
  6. โพลิยูรีเทน (polyurethane) ใช้อย่างกว้างขวางในหลายรูปแบบ โฟมอ่อนใช้ในการทำเบาะ ฟูก และหีบห่อ ส่วนโฟมแข็งใช้เป็นฉนวนในตู้เย็น เครื่องแช่แข็ง

 

อ้างอิงจาก:http://www.sudipan.net/phpBB2/viewtopic.php?p=28593

การซีลด้วยเครื่องซีลสายพานต่อเนื่อง
วันที่ 02/10/2019  14:37:44 PM ,ผู้เข้าชม : 824
เครื่องซีลสายพานต่อเนื่อง Brother SF-150W

การซีลด้วยเครื่องซีลสายพานต่อเนื่อง 

Brother รุ่น SF-150W เครื่องซีลสายพานต่อเนื่องแนวนอน

Brother รุ่น SF-150LW เครื่องซีลสายพานต่อเนื่องแนวตั้ง

เครื่องซีลสายพานต่อเนื่อง Brother SF-150W
ภาพการซีลด้วยเครื่องซีลสายพานต่อเนื่อง รุ่น SF-150W

เครื่องซีลสายพานต่อเนื่อง Brother SF-150W
ภาพการซีลด้วยเครื่องซีลสายพานต่อเนื่อง รุ่น SF-150W

เครื่องซีลสายพานต่อเนื่อง Brother SF-150W
ภาพการซีลด้วยเครื่องซีลสายพานต่อเนื่อง รุ่น SF-150W

เครื่องซีลสายพานต่อเนื่อง Brother SF-150W
ภาพการซีลด้วยเครื่องซีลสายพานต่อเนื่อง รุ่น SF-150W

เครื่องซีลสายพานต่อเนื่อง Brother SF-150W
ภาพการซีลด้วยเครื่องซีลสายพานต่อเนื่อง รุ่น SF-150W

เครื่องซีลสายพานต่อเนื่อง Brother SF-150LW
ภาพการซีลด้วยเครื่องซีลสายพานต่อเนื่อง รุ่น SF-150LW

เครื่องซีลสายพานต่อเนื่อง Brother รุ่น SF-150W
ภาพการซีลซองฟอยด์ ด้วยเครื่องซีลสายพานแนวนอน รุ่น SF-150W


เครื่องซีลสายพานต่อเนื่อง Brother รุ่น SF-150W

ภาพการซีลถุงบรรจุของดองมีน้ำ ใช้เครื่องซีลสายพานต่อเนื่องแนวนอน SF-150W

เครื่องซีลสายพานต่อเนื่อง Brother รุ่น SF-150W
ภาพการซีลถุงพลาสติกบรรจุเบเกอรี่ ด้วยเครื่องซีลสายพานแนวนอน รุ่น SF-150W

เครื่องซีลสายพานต่อเนื่อง Brother รุ่น SF-150W
ภาพการซีลซองบรรจุเครื่องสำอางค์ ด้วยเครื่องซีลสายพานแบบแนวนอน รุ่น SF-150W


เครื่องซีลสายพานต่อเนื่อง Brother รุ่น SF-150W
ภาพการซีลถุงพลาสติก ด้วยเครื่องซีลสายพานแบบแนวนอน รุ่น SF-150W

 

 

 

การซีลด้วยเครื่องซีลสายพานต่อเนื่อง FRD-1000
วันที่ 02/10/2019  15:16:06 PM ,ผู้เข้าชม : 875
เครื่องซีลสายพานต่อเนื่อง Brother FRD1000W

ภาพการซีลด้วยเครื่องซีลสายพานต่อเนื่อง

Brother รุ่น FRD-1000W

Brother รุ่น FRD-1000LW

เครื่องซีลสายพานต่อเนื่อง Brother FRD-1000W
ภาพการซีลซองฟอยด์ ด้วยเครื่องซีลสายพานต่อเนื่อง แบบแนวนอน รุ่น FRD-1000W

เครื่องซีลสายพานต่อเนื่อง Brother FRD-1000W
ภาพการซีลซองฟอยด์ ด้วยเครื่องซีลสายพานต่อเนื่อง แบบแนวนอน รุ่น FRD-1000W

เครื่องซีลสายพานต่อเนื่อง Brother FRD-1000W
ภาพการซีลซองฟอยด์ ด้วยเครื่องซีลสายพานต่อเนื่อง แบบแนวนอน รุ่น FRD-1000W


เครื่องซีลสายพานต่อเนื่อง Brother FRD-1000W
ภาพการซีลถุงพลาสติกด้วยเครื่องซีลสายพานต่อเนื่อง แบบแนวนอน รุ่น FRD-1000W


เครื่องซีลสายพานต่อเนื่อง Brother FRD-1000W
ภาพการซีลถุงพลาสติก ด้วยเครื่องซีลสายพานต่อเนื่อง แบบแนวนอน รุ่น FRD-1000W


เครื่องซีลสายพานต่อเนื่อง Brother FRD-1000LW
ภาพการซีลถุงพลาสติก ด้วยเครื่องซีลสายพานต่อเนื่อง แบบแนวตั้ง รุ่น FRD-1000LW

เครื่องซีลสายพานต่อเนื่อง Brother FRD-1000LW
ภาพการซีลซอง ด้วยเครื่องซีลสายพานต่อเนื่อง แบบแนวตั้ง รุ่น FRD-1000LW


เครื่องซีลสายพานต่อเนื่อง Brother FRD-1000LW
ภาพการซีลถุงพลาสติก ด้วยเครื่องซีลสายพานต่อเนื่อง แบบแนวตั้ง รุ่น FRD-1000LW

 

ก่อนหน้า123ถัดไป
[Go to top]